วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การเขียนโครงเรื่อง



การเขียนโครงเรื่อง

                โครงเรื่องคือกรอบของเรื่องที่จะเขียน เป็นการกำหนดรายการหรือการดำดับเนื้อหาของรายงานว่าจะประกอบด้วยหัวข้อใดบ้าง  อาจเรียงตามเหตุการณ์    ลำดับเวลา   หรือความสัมพันธ์กันในหัวข้อต่างๆ  หรือเรียงตามความยากง่ายของเนื้อหา 

ตัวอย่างเช่น      รายงานเรื่อง    ศิลปการพูด   อาจวางโครงเรื่องดังนี้
1.  การพูดของคนไทย
1.1         ความเป็นมาของการพูด
1.2         ความสำคัญของการพูด
1.3         ความหมายของการพูด
1.4         วิธีการและเวลาที่ใช้ในการสื่อความหมายทางภาษา
1.5         จุดมุ่งหมายของการพูด
1.6         วิธีการฝึกพูด


2.             คุณสมบัติเบื้องต้นของนักพูดที่ดี
2.1         แบบต่างๆของการพูด
2.2         องค์ประกอบของการพูด
2.3         การเตรียมตัวพูด
2.4         การสร้างโครงเรื่องที่จะพูด
3.             เทคนิคในการวางโครงเรื่องที่จะพูด
3.1         การทักทายในที่ประชุม
3.2         การพูดในที่ชุมชน
3.3         การเว้นวรรคตอนในการพูด
4.             เทคนิคการพูดให้ถูกใจคน
4.1         การใช้ไมโครโฟน
4.2         กริยาประกอบในการพูด
4.3         เทคนิคการพูดที่มีประสิทธิภาพ
4.4         การใช้ราชาศัพท์
5.             การพูดในโอกาสต่างๆ
5.1           การพูดในที่ประชุม                                                   
5.2          การพูดเป็นพิธีกร
5.3          การกล่าวสุนทรพจน์  
5.4          การกล่าวแนะนำบุคคล
5.5           การกล่าวต้อนรับและขอบคุณวิทยากร 
5.6           การกล่าวเปิดงาน
1.7.    การกล่าวแสดงความยินดี   เสียใจ   และการไว้อาลัย
1.8.    การกล่าวอวยพร
1.9..   การกล่าวถวายพระพร   
1.10  การพูดประกอบอุปกรณ์ (สาธิต)
1.11..  การพูดอภิปราย    
1.12   การโต้วาที
1.13..  บทสรุป
      ข้อสังเกต   การเขียนโครงเรื่องจะคล้ายกับสารบัญ  ผู้เขียนรายงานควรคำนึงถึงข้อมูลที่ได้มา พยามยามให้ได้ข้อมูลครบถ้วน สมบูรณ์มากที่สุด  เมื่อได้ข้อมูลมากพอเพียงแล้วจึงนำมาจัดเรียงหัวข้อใหม่เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องสัมพันธ์กันของเนื้อหา  ให้ลำดับหมายเลขหัวเรื่องเพื่อทำสารบัญต่อไป   
การวางโครงเรื่อง ให้หมายเลขลำดับหัวข้อตามความนิยม